วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

หม่อน พืชมากประโยชน์ นำลูกหม่อนมาทำ “ลูกหม่อนอบแห้ง”

หม่อน ( Mulberry ) : พืชมากประโยชน์     
    หม่อนเป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่ม (tree ,shrut ) อยู่ในวงศ์ Moraceae genus Morus มีอยู่หลาย ชนิด ที่พบมากมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba Linn.


      หม่อนมีลำต้นใหญ่ ตั้งตรง มีกิ่งก้านมาก ใบ เป็นส่วนที่ใช้เลี้ยงไหม ขนาด ความหนา และลักษณะรูปร่างของขอบใบจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธุ์ ราก ประกอบด้วยรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย แต่หม่อนที่ขยายพันธุ์ด้วยกิ่งจะมีรากแขนงและรากฝอยเท่านั้น โดยรากแขนงจะทำหน้าที่ยึดลำต้นและกิ่งให้ทรงตัวอยู่ได้ ส่วนรากฝอยมีหน้าที่ดูดซึมอาหารและน้ำจากดิน ดอกและผล โดยทั่วไปหม่อนเป็นพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น แต่บางพันธุ์อาจมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกหม่อนมีลักษณะเป็นกลุ่มเกาะติดกันเป็นช่อ เมื่อดอกตัวเมียได้รับการผสมจะเปลี่ยนเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อประกอบด้วยเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก
             การใช้ประโยชน์จากหม่อน
            ใบ ใช้เป็นอาหารของหนอนไหม และหนอนไหมที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะนำโปรตีนในใบหม่อนไปสร้างเป็นโปรตีนผลิตเป็นเส้นไหม ซึ่งเส้นไหม จะเป็นวัตถุดิบในการผลิตผ้าไหมที่มีความสวยงาม         
           ใบหม่อนมีสาร flonoid phytoestrogen , triterpene ,ceramide , mulberroside และ น้ำมันหอมระเหย โดย มีการศึกษาพบสาร flavonol glycosides 3 ชนิด คือ quercetin 3-(6-malonyglucoside ) , rutin (quercetin 3- rutinoside ) และ isoquercetin ( quercetin 3- glucoside ) เป็นองค์ประกอบหลักของสาร LDL antioxidant โดยพบ quertin 3-(6-malonyglucoside ) และ rutin เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูงในใบหม่อน (Katsube et al, 2005) และใบหม่อนสามารถนำไปทำเป็นชาสำหรับชงน้ำร้อนดื่มโดยจะทำในรูปชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง หรือ รับประทานใบและยอดอ่อนโดยตรงโดยการใส่ในต้ม หรือแกงก็ได้
        ใบหม่อนมีโปรตีน 18-28.8 % น้ำหนักแห้ง สามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์บางชนิดได้เช่นในในการเป็นอาหารปลากินพืช ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องบางชนิด (FAO,2000)
       ผลหม่อน มีการพบว่ามีanthocyanins สูง
      ในผลหม่อนแห้ง มี   ไขมัน 63 %    กรดอินทรีย์ 27 % แอลกอฮอล์ 1.6 % และพบว่า สารcyanidin – 3-O-?-D-glucopyranoside (C3G ) ที่สกัดจากanthocyanin  ในผลหม่อนสามารถต่อต้านอาการขาดเลือดในสมองได้ (Kang et al , 2005 )
      ดังนั้นผลหม่อนสามารถรับประทานสด นำไปแปรรูปเป็นน้ำผลหม่อนเข็มข้นหรือพร้อมดื่ม และเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารต่าง เช่นไอศกรีม แยม แยลลี่ ข้าวเกรียบ ขนมพายลูกหม่อน รวมทั้งการผลิตเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทไวน์       
       ลำต้นและกิ่ง สามารถใช้เป็นไม้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางกีฬาบางชนิดได้ และเยื่อจากเปลือกลำต้นและกิ่งสามารถนำมาทำเป็นกระดาษได้สวยงามเช่นเดียวกับกระดาษสา
          นอกจากนี้สามารถนำต้นหม่อนไปใช้ในการจัดและประดับสวนเพื่อให้มีภูมิทัศน์ที่ดีได้เนื่องจากต้นหม่อนทนต่อการตัดแต่ง และหลังการตัดแต่งจะมีการแตกกิ่งและเจริญเติบโตเร็ว      
        ปัจจุบัน ลูกหม่อนอบแห้ง ได้รับการยอมรับว่า เป็นที่นิยมรับประทานทั่วไป เพราะสะดวกและได้คุณค่า สรรพคุณจาก ลูกหม่อน ครบถ้วน มีราคาถูก หาซื้อง่าย(ติดต่อ วีระชัย  ทองสา ผู้ผลิตและจำหน่าย ลูกหม่อนอบแห้งเจ้าแรกในไทย)      
       ลูกหม่อนอบแห้ง เป็นสูตร ที่คิดค้น โดย veerachai shop เพราะมองเห็นถึงสรรพคุณที่มีมากมายของลูกหม่อน จึง ผลิตลูกหม่อนอบแห้ง ออกจำหน่ายในตลาดเจ้าแรก 
   ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ ลูกหม่อนอบแห้งมีจำหน่ายใน ชื่อ ลูกหม่อนอบแห้ง
        1 ถุง น้ำหนัก 100 กรัม ราคา 120 บาท
         ดูข้อมูลได้ที่ http://drymulberrycap.blogspot.com 
       ส่วนประกอบที่สำคัญ  ลูกหม่อนอบแห้ง  100%   จาก  อ.บ่อเกลือ จ.น่าน      
         สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
         ครู ชอร์ว  โทร.089-496-8695 , 02-957-9954
                Line : pensionfunds
                 อีเมล์  gshorv@gmail.com

    










 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น